แนวทางการปฏิรูปกฎหมายเครื่องสำอางของประเทศไทย
แนวทางการปฏิรูปกฎหมายเครื่องสำอางของประเทศไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิรูปกฎหมายเครื่องสำอางของประเทศไทย จาก สภาพปัญหา แนวคิดทฤษฎีเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อเสวงหาคำตอบตามกรอบแนวความคิด และสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 27 คน การสนทนากลุ่ม 22 ท่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่เลือกซื้อ-ใช้เครื่องสำอางเป็นประจำ ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยผู้วิจัยได้สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ประเทศไทยได้มีกฎหมายพระราชบัญญัติเครื่องสำอางเป็นแม่บทในการกำกับดูแลเครื่องสำอางที่ผลิตหรือ นำเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2535 มาจนถึงปัจจุบันมีผู้ลักลอบผลิตเครื่องสำอางออกมาวางขายทั้งๆ ที่ไม่ ได้ขึ้นทะเบียนและลักลอบผสมสารอันตรายลงในเครื่องสำอาง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่กฎหมายกำหนดห้าม ใช้ในเครื่องสำอางทั้งสิ้น รวมทั้งการจัดทำฉลากเครื่องสำอางที่ไม่ถูกต้อง
สำหรับหลักเกณฑ์การกำกับดูแล และการควบคุมเครื่องสำอางของประเทศไทยที่มีบังคับอยู่ใน ปัจจุบัน พบว่ากฎหมายแม่บทในการกำกับดูแลเครื่องสำอาง คือ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และมีกฎหมายรองที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเครื่องสำอางอีกหลายฉบับไม่สามารถกำกับดูแลเครื่อง สำอางได้ครอบคลุมทั่วถึง ขาดมาตรการการกำกับดูแล และการควบคุมเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถ ผลิตสินค้าเครื่องสำอางได้อย่างมีมาตรฐาน พบปัญหาหรือข้อบกพร่องจากการกำกับดูแล และการควบคุม เครื่องสำอางของประเทศไทย คือ การขึ้นทะเบียนและรับแจ้งเครื่องสำอาง ฉลาก การควบคุมการโฆษณา เครื่องสำอาง การดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ถูกต้องและความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าไม่ปลอดภัย การเข้าถึงกระบวนการเยียวยาล่าช้าไม่ทันต่อความเสียหาย อีกทั้งควรปรับปรุงมาตรการ ทางกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียน (ASEAN cosmetic directive) เนื่องจากเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียน
แสดงความคิดเห็น
Copyright © 2018 Bcooffice . All rights reserved